BANNER


บทความวิชาการ




เกษตรแม่นยำ : ภาพรวมและมาตรการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ เกษตรแม่นยำ : ภาพรวมและมาตรการทางกฎหมายของสหรัฐอเมริกา
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย

 


เศรษฐกิจไฮโดรเจนและมาตรการความปลอดภัย : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ เศรษฐกิจไฮโดรเจนและมาตรการความปลอดภัย : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
 


เกษตรแม่นยำ : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน

นโยบายด้านการเกษตรของสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งในบทความนี้จะขอเรียกโดยย่อว่า ประเทศจีน มีการพัฒนามาอย่างยาวนานนับแต่การก่อตั้งประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรตามทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยนโยบายของประเทศในช่วงเริ่มแรกมุ่งเน้นการเพิ่มผลผลิตเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนประชากรในประเทศ และพัฒนามาสู่การสร้าง ความปลอดภัยด้านอาหาร (food safety) การเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร การสร้างเสริมขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศควบคู่กับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความมฉบับเต็มได้ที่ เกษตรแม่นยำ : กรณีศึกษาสาธารณรัฐประชาชนจีน


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการ เรื่อง เศรษฐกิจสีเขียว

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีความสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวมีความมุ่งหมายในการแก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง ปัญหามลพิษในด้านต่าง ๆ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปัญหาด้านสุขอนามัยของประชาชน

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> รายงานการค้นคว้าทางวิชาการ เรื่อง เศรษฐกิจสีเขียว
 


การจัดการขยะพลาสติก : กรณีศึกษาราชอาณาจักรสวีเดน

บทความเรื่องการจัดการขยะพลาสติก : กรณีศึกษาราชอาณาจักรสวีเดน

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ การจัดการขยะพลาสติก : กรณีศึกษาราชอาณาจักรสวีเดน
*
บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


มาตรการการจัดการขยะพลาสติกในสิงคโปร์

บทความเรื่องมาตรการการจัดการขยะพลาสติกในสิงคโปร์

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ มาตรการการจัดการขยะพลาสติกในสิงคโปร์
*
บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สิงคโปร์ - ไทย

บทความนี้มุ่งนำเสนอถึง มาตรการทางกฎหมายในเรื่องการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สิงคโปร์ – ไทย เนื่องจากสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีชื่อเสียงทั้งในเรื่องการเป็นตลาดการเงินอันดับต้น ๆ ของโลกและมีมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินไว้อย่างชัดเจนและยาวนาน
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สิงคโปร์ - ไทย
*บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการ เรื่อง การเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีเสมือนจริง

รายงานการศึกษาฉบับนี้ นำเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักกับเทคโนโลยีเสมือนจริงรูปแบบต่าง ๆ พร้อมทั้งประโยชน์และผลกระทบของการใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในด้านต่าง ๆ  และมุมมอง ท่าที นโยบาย และแผนงานด้านเทคโนโลยีเสมือนจริง รวมทั้งการเตรียมความพร้อมทางกฎหมายในการเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีเสมือนจริง อันเป็นการสร้างความตระหนักรู้แก่ทุกภาคส่วนถึงความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลในอีกรูปแบบหนึ่งที่จะมีการใช้กันอย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้นในอนาคต 
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ การเตรียมพร้อมเข้าสู่โลกแห่งเทคโนโลยีเสมือนจริง


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในส่วนของความร่วมมือระหว่างประเทศ แนวนโยบาย แผนงานที่เกี่ยวข้อง และมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศและของไทย เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ให้แก่หน่วยงานของรัฐและประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเป็นการจุดประกายให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบถึงความสำคัญของการร่วมกันอนุรักษ์และคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดจนการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพให้เป็นไปอย่างยั่งยืน
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานฉบับเต็มได้ที่นี่ กฎหมายเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ


กฎหมายที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเสมือนจริงของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอกฎหมายที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเสมือนจริงของสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อเนื่องจากที่ได้นำเสนอนโยบาย แผนงาน มุมมอง และท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสหพันธรัฐรัสเซียต่อการเตรียมความพร้อมให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริงแล้วก่อนหน้านี้  ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> กฎหมายที่มีผลกระทบหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเสมือนจริงของประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย
 ​* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


สาธารณรัฐอินเดีย: มาตรการด้านกฎหมายในการกำกับดูแลเทคโนโลยีเสมือนจริง

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอมาตรการด้านกฎหมายในการกำกับดูแลเทคโนโลยีเสมือนจริงของสาธารณรัฐอินเดีย ต่อเนื่องจากที่ได้นำเสนอนโยบาย แผนงาน มุมมอง และท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสาธารณรัฐอินเดียต่อการเตรียมความพร้อมให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริงแล้วก่อนหน้านี้  ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> สาธารณรัฐอินเดีย: มาตรการด้านกฎหมายในการกำกับดูแลเทคโนโลยีเสมือนจริง

 ​* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ยุทธศาสตร์และท่าทีของภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นต่อการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและเอกชนของประเทศญี่ปุ่นต่อการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> ยุทธศาสตร์และท่าทีของภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นต่อการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง.pdf

 ​* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย




 


การควบคุมกิจกรรมทางการตลาดข้ามพรมแดนของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายระหว่างประเทศ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางกฎหมายระหว่างประเทศเพื่อสะท้อนข้อพิจารณาและความท้าทายในการควบคุมกิจกรรมทางการตลาดข้ามพรมแดนของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


กระดานคะแนนความยุติธรรม (Justice Scoreboard) กลไกส่งเสริมความยุติธรรมของสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๒๒ คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปได้เผยแพร่กระดานคะแนนความยุติธรรม ประจำปี ค.ศ. ๒๐๒๒ ซึ่งแสดงภาพรวมเปรียบเทียบของประสิทธิภาพ คุณภาพ และความเป็นอิสระของระบบยุติธรรมในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสามารถนำไปวิเคราะห์เพื่อพัฒนาระบบยุติธรรมของประเทศและภูมิภาคได้ในระยะยาว วิธีการประเมินคะแนนความยุติธรรมมาจากการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลและข้อมูลเชิงปริมาณที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรปเพื่อประสิทธิภาพของความยุติธรรม (European Commission for the Efficiency of Justice: CEPEJ)


ต้นแบบกฎหมายสนับสนุนความต้องการและคุ้มครองสิทธิของเหยื่อจากการก่อการร้าย (Model Legislative Provisions to Support the Needs and Protect the Rights of Victims of Terrorism)

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอสาระสำคัญของต้นแบบกฎหมายสนับสนุนความต้องการและคุ้มครองสิทธิของเหยื่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาและพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง


ภาพรวมการก่อการร้ายปี ค.ศ. ๒๐๒๑ ท่ามกลางยุคแห่งเทคโนโลยี และวิกฤตการระบาดของไวรัสโควิด - ๑๙

การก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามร้ายแรงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สิน ทั้งยังเป็นปัญหาที่มีรากฐานอันซับซ้อนเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับมิติทางการเมือง ศาสนา และเชื้อชาติ แม้การก่อการร้ายจะไม่ได้เป็นภัยคุกคามที่ไม่เคยปรากฎขึ้นมาก่อน แต่รูปแบบและวิธีการโจมตีมีการพัฒนาควบคู่ไปกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลซึ่งเอื้ออำนวยให้เกิดการก่อการร้ายได้โดยง่ายยิ่งขึ้นและสร้างความเสียหายได้อย่างเป็นวงกว้าง ทำให้สภาพปัญหาการก่อการร้ายมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญอันจะส่งผลต่อเนื่องไปยังแนวทางการป้องกันและปราบปรามภัยคุกคามดังกล่าว  นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๒๐๒๐ ประชาคมโลกได้เผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด – ๑๙ ไม่เพียงแต่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงปลอดภัยทางสุขภาพและอนามัย แต่ยังมีผลกระทบต่อแนวโน้มของสถานการณ์การก่อการร้ายทั่วโลก บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอภาพรวมของปัญหาการก่อการร้ายในปี ค.ศ. ๒๐๒๑ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและทำความเข้าใจสถานการณ์เพื่อประโยชน์ในการแสวงหาแนวทางป้องกันและปราบปรามต่อไป


หลักความรับผิดชอบในการปกป้อง (R2P) ภายใต้กรอบสหประชาชาติ (UN)

Infographic นำเสนอเรื่อง "หลักความรับผิดชอบในการปกป้อง (R2P) ภายใต้กรอบสหประชาชาติ (UN)" ผู้สนใจสามารถ Download เอกสารได้ที่นี่ >>> Responsibility to Protect


นโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> นโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสหพันธรัฐรัสเซีย ต่อการเตรียมความพร้อมและการปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง
 ​* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


นโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและภาคเอกชน ของสาธารณรัฐอินเดีย ต่อการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง

บทความนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและเอกชนของสาธารณรัฐอินเดีย ต่อการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่ >>> นโยบาย กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ แผนงาน มุมมอง ท่าทีของภาครัฐและภาคเอกชน ของสาธารณรัฐอินเดีย ต่อการเตรียมพร้อมและปรับตัวให้เท่าทันต่อเทคโนโลยีเสมือนจริง
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency)

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลทั้งสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยภาคเอกชน ซึ่งได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี (Cryptocurrency) และสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency (CBDC)) ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับแนวนโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของไทยและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ ที่มีการดำเนินการเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล รวมทั้งเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่องค์กร ภาคเอกชนและประชาชนที่สนใจเรื่องดังกล่าวได้ต่อไป  

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> แนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล (Digital Currency)


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง เมืองอัจฉริยะ (Smart City)

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับแนวนโยบาย แนวคิด และการดำเนินการเพื่อรองรับการส่งเสริมและพัฒนา ความเป็นเมืองอัจฉริยะทั้งในส่วนของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐที่มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับความเป็นเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งเป็นการสร้างความรับรู้แก่องค์กรภาคเอกชนและประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินการในภาพรวมด้านการส่งเสริมและพัฒนาเมืองอัจฉริยะของเมืองที่ติดอันดับโลกด้านการวางแผนงานและการบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะที่โดดเด่น รวมตลอดทั้งความคืบหน้าและแนวทางการดำเนินการของภาครัฐของประเทศไทยอันจะเป็นผลดีต่อการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนและพัฒนาประเทศไทยให้มุ่งสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะได้อย่างเป็นรูปธรรม 

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> เมืองอัจฉริยะ (Smart City)


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง มาตรการในการต่อต้านและการคุ้มครองบุคคลจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคม (Anti-Bullying Laws)

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการต่อต้านและการคุ้มครองบุคคลจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคมในเบื้องต้น ไม่ว่าจะเป็นความหมาย องค์ประกอบของการกระทำ และประเภทของการกลั่นแกล้งในรูปแบบต่าง ๆ โดยศึกษาข้อมูลทั้งในส่วนของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อนำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองและป้องกันมิให้เกิด การกลั่นแกล้งกันในสังคม ซึ่งจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากการกลั่นแกล้งกันในสังคม รวมตลอดทั้งการร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดียิ่งขึ้น

ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> มาตรการในการต่อต้านและการคุ้มครองบุคคลจากการถูกกลั่นแกล้งในสังคม


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง พัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในเบื้องต้น ทั้งในส่วนของความร่วมมือระหว่างประเทศ แนวนโยบาย และพัฒนาการทางกฎหมายในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อจะได้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ให้แก่หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ และประชาชนที่สนใจ รวมทั้งเป็นการจุดประกายให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและแก้ไข ปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากยิ่งขึ้น 
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> พัฒนาการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change)


รายงานการค้นคว้าทางวิชาการด้านกฎหมาย เรื่อง มาตรการทางกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูเมือง (Urban Redevelopment)

รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีความมุ่งหมายในการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการฟื้นฟูเมือง ทั้งในส่วนของต่างประเทศและประเทศไทย เพื่อนำเสนอข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐ ในการดำเนินการเพื่อรองรับการฟื้นฟูเมือง รวมทั้งเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่องค์กรภาคเอกชน และประชาชน อันจะเป็นผลดีต่อการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการส่งเสริมและสนับสนุนภารกิจด้านการฟื้นฟูเมืองให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงรายงานการศึกษาฉบับเต็มได้ที่นี่ >>> มาตรการทางกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูเมือง (Urban Redevelopment)


การสอบสวนโรคผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล TraceTogether : ประสบการณ์จากประเทศสิงคโปร์

จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙  รัฐบาลสิงคโปร์ได้พัฒนาระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการสอบสวนโรคและตรวจสอบการสัมผัสเชื้อของบุคคล (a national digital contact tracing (DCT) tool) และเป็นประเทศแรกที่นำแอปพลิเคชันที่ใช้สัญญาณบลูทูธ (bluetooth) เพื่อตรวจจับสัญญาณใกล้เคียงที่เรียกว่า “TraceTogether app” มาใช้ในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ 
ผู้สนใจสามารถเข้าถึงบทความฉบับเต็มได้ที่นี่ >> การสอบสวนโรคผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล TraceTogether : ประสบการณ์จากประเทศสิงคโปร์

(บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย)


กฎหมายจากข่าว: Foreign Sovereign Immunities Act

เมื่อสัปดาห์ก่อน หลายคนคงได้อ่านข่าวเกี่ยวกับรัฐมิสซูรี (Missouri) ของสหรัฐอเมริกายื่นเรื่องต่อศาลรัฐบาลกลางสหรัฐเพื่อฟ้องพรรคคอมมิวนิสต์จีนกรณีการแพร่ระบาดของโควิด - ๑๙ ซึ่งตามข่าวมีการระบุถึงกฎหมาย Foreign Sovereign Immunities Act ของสหรัฐอเมริกานั้น กฎหมายดังกล่าวมีหลักการและสาระสำคัญอย่างไร ขอฝากข้อมูลไว้เป็นความรู้เพิ่มเติมจากข่าวค่ะ ส่วนใครจะฟ้องใคร ผลการฟ้องร้องจะเป็นอย่างไร เราคงต้องคอยติดตามข่าวกันต่อไปนะคะ... อ่านต่อ


การขึ้นทะเบียน “นวดไทย” เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติตามอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้

เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ ที่ประชุมคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intergovernmental Committee forthe Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage หรือ ICS-ICH) สมัยที่ ๑๔ ซึ่งเป็นการประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างรัฐบาลตามภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ (Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage) ขององค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (U.N. Educational, Scientific and Cultural Organization หรือ UNESCO) ณ กรุงโบโกตา สาธารณรัฐโคลอมเบียได้มีมติให้ขึ้นทะเบียน “นวดไทย” (NUAD THAI หรือ Traditional Thai Massage) ในบัญชีรายชื่อตัวแทนมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ (Representative List of the Intangible Cultural Heritage of Humanity หรือ RL) ซึ่งเป็นรายการที่ ๒ ต่อจาก “โขน” ที่รับการขึ้นทะเบียนไปแล้วเป็นรายการแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑

บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
 


รายงานผลการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมาย เรื่อง การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการภัยพิบัติ

ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านกฎหมาย เรื่อง การเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการบริหารจัดการภัยพิบัติ ระหว่างวันที่ ๑๑ - ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๒ ณ สถาบัน National Graduate Institute for Policy Studies (GRIPS)
อ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ รายงานผลการประชุม


สรุปผลการประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับ การจัดการมลพิษ การกำจัดขยะและการจัดวางผังเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย

ผลการประชุมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวนโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมลพิษ การกำจัดขยะและการจัดวางผังเมือง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๒ ณ เครือรัฐออสเตรเลีย 
อ่านราบงานฉบับเต็มได้ที่ รายงานผลการประชุม


แนวคิดและหลักการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีต่อศาล

          โดยที่ในปัจจุบันปริมาณคดีที่เกิดขึ้นในแต่ละศาลมีเป็นจำนวนมาก ทำให้มีปริมาณคดีมากกว่ากำลังของผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลซึ่งเป็นเหตุให้คดีเกิดความล่าช้า อีกทั้งแต่ละคดี กว่าจะถึงที่สุดก็ใช้เวลาหลายปีอันทำให้เป็นอุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน สำหรับการระงับข้อพิพาททางเลือกนั้นมีด้วยกันหลายวิธีโดยการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งจะต้องเลือกวิธีการระงับข้อพาททางเลือกที่มีความเหมาะสมกับข้อพาทในเรื่องนั้น ๆ โดยแบ่งวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือก ได้เป็นประเภทต่าง ๆ  อย่างไรก็ดี วิธีการไกล่เกลี่ยเป็นหนึ่งในวิธีการระงับข้อพิพาททางเลือกที่คนในสังคม ใช้กันมาเป็นระยะเวลานาน ในอดีตนั้นการไกล่เกลี่ยยังไม่มีรูปแบบหรือแนวทางปฏิบัติใด ๆ เป็นเพียงการ ทำหน้าที่ของพลเมืองดีหรือผู้หวังดีในการเจรจาเพื่อช่วยยุติเหตุขัดแย้งที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กระบวนการยุติธรรมได้เล็งเห็นความสำคัญและประสิทธิภาพของการไกล่เกลี่ยจึงได้มีการนาวิธีการระงับ ข้อพิพาทโดยการไกล่เกลี่ยมาเป็นกระบวนการยุติธรรมทางเลือก (Alternative Justice) อีกวิธีการหนึ่ง ซึ่งเป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการโดยตรง


บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมในการโอนลิขสิทธิ์ : ศึกษากรณีการซื้อขายลิขสิทธิ์จากนักแต่งเพลง

                           ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสินค้าที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศ พัฒนาแล้วเป็นจำนวนมาก โดยทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญได้แก่ ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตร ในปี ค.ศ. ๒๐ ๕ ประเทศไทยมีมูลค่าการซื้อขายลิขสิทธิ์ ๕๒๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว ๘,๐๐๐ ล้านบาท มีการขยายตัวร้อยละ ๒๕.๙ เป็นอันดับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อัตราการซื้อสินค้าลิขสิทธิ์ต่อประชากรของไทย เฉลี่ยอยู่ที่คนละ ๗.๖๒ ดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยมูลค่าส่วนใหญ่ อยู่ในสินค้ากลุ่มบันเทิง

                           ​* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย
 


เจตนารมณ์กฎหมายพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘

                      เจตนารมณ์กฎหมายพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘ เจตนารมณ์กฎหมายฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้อ่านในการทำความเข้าใจกฎหมายและเป็นข้อมูลประกอบในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ไม่มีจุดประสงค์เพื่อใช้อ้างอิงในการบังคับใช้กฎหมายหรือในการพิจารณาตัดสินคดีของศาล โดยพระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘ มีหลักการเป็นการกำหนดให้มีกฎหมายเพื่อควบคุมการค้าและการครอบครองงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) ที่ประเทศไทยต้องปฏิบัติตามในฐานะประเทศสมาชิก โดยจะต้องกำหนดให้มีมาตรการควบคุมการค้าหรือการครอบครองงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้างที่ได้มาจากช้างที่เป็นสัตว์พาหนะ เพื่อมิให้มีการนำงาช้างที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมายมาปะปนกับงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะ


                         * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 


เจตนารมณ์ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)

                        เจตนารมณ์ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (จัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) (พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ๑๗) พ.ศ. ๒๕๕๙) ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้อ่านในการทำความเข้าใจโครงสร้างและภารกิจของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งได้จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านดิจิทัลที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม ฐานความรู้ และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการสำคัญในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างมาจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของกระทรวงเพื่อให้ครอบคลุมถึงการวางแผน ส่งเสริม พัฒนาและดำเนินกิจการเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ชื่อใหม่ว่า “กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”   


บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 


กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืชของสหรัฐอเมริกา

                    มาตรการให้ความคุ้มครองแก่ผู้ทรงสิทธิพันธุ์พืชใหม่ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ด้านการเกษตรและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังจะเห็นได้จากฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ใช้ระบบการจดทะเบียนในการคุ้มครองสิทธิของผู้ทรงสิทธิ โดยใช้หลักเกณฑ์เรื่องความใหม่ (new) ประกอบกับปัจจัยด้านความโดดเด่น (distinct) ความสม่ำเสมอ (uniform) และความคงที่ (stable) ของสายพันธุ์มาเป็นข้อพิจารณาในการให้ความคุ้มครองด้านต่าง ๆ


บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 

 


ร่างกฎหมายนิวเคลียร์ตามหลักสูตรที่จัดโดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ


                             บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 


รูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียม

                โดยที่ระบบการให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่เป็นระบบการให้สัมปทานเพียงอย่างเดียว เป็นการกำหนดให้รัฐสามารถพิจารณานาระบบสัญญาแบ่งปันผลผลิตหรือระบบสัญญาจ้างบริการมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๒๓๒ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. ๒๕๑๔ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๐ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๐) จึงสมควรศึกษาเทียบเคียงรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมของแต่ละรัฐ
                    ปัจจุบันรูปแบบการแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียมของรัฐที่มีปิโตรเลียมในอาณาเขตของตนเกิดจากการที่รัฐทาความตกลงกับเอกชนเพื่อให้มีการนาปิโตรเลียมที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ โดยแบ่งรูปแบบการทำความตกลงได้เป็นสัญญา ๓ ประเภท คือ สัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างบริการ ซึ่งสัญญาแต่ละประเภทจะมีลักษณะพื้นฐานที่แตกต่างกัน ตามชื่อสัญญาที่จะส่งผลถึงกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมและการแบ่งปันผลประโยชน์ของคู่สัญญาที่แตกต่างกันเท่านั้น ส่วนรายละเอียดของข้อกำหนดและเงื่อนไขที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติตาม จะมีลักษณะใกล้เคียงกันทั้งหมด ทั้งนี้ สาระสาคัญของสัญญาทั้ง ๓ ประเภท...


                             บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 


การบริหารจัดการน้ำของต่างประเทศและข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย

                     บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียนเว็บไซต์ LawforASEAN สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 


การบริหารจัดการน้ำของประเทศฝรั่งเศส

                      ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ลำดับที่ ๔๑ ของโลก มีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปและพื้นที่อื่นอยู่ในหลายทวีป โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดประมาณ ๖๗๐,๙๒๒ ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ในยุโรป ๕๔๗,๐๓๐ ตารางกิโลเมตร มีทางน้ำยาวมากกว่า ๕๒๕,๐๐๐ กิโลเมตร โดยเป็นแม่น้ำสายหลัก ๔ สาย ได้แก่ แม่น้ำลัวร์ (Loire) แม่น้ำแซนน์ (Seine) แม่น้ำการอนน์ (Garonne) และแม่น้ำโรนน์ (Rhône) ทั้งนี้ ไม่นับแม่น้ำไรน์ (Rhin) ที่มีส่วนสำคัญกับยุโรปแต่มีความสำคัญกับฝรั่งเศสไม่มากเท่าแม่น้ำหลัก ๔ สายดังกล่าว โดยลุ่มน้ำ๓ของแม่น้ำ ๔ สายหลักข้างต้นครอบคลุมพื้นที่ถึงร้อยละ ๖๒ ของฝรั่งเศสภาคพื้นทวีป  นอกจากนี้ยังมีแอ่งน้ำหรือแหล่งน้ำต่าง ๆ มากกว่า ๓๔,๐๐๐ แห่ง และมีพื้นที่ทะเลอาณาเขตในสามมหาสมุทรมากกว่า ๑๐ ล้านตารางกิโลเมตร 
                     นอกจากประเทศฝรั่งเศสจะให้ความสำคัญกับน้ำในฐานะเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นในการบริโภคอุปโภคและการใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องมีการดูแลคุณภาพของน้ำเพื่อให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแง่ของทรัพยากรธรรมชาติแล้ว ยังให้ความสำคัญในการจัดการน้ำในฐานะของภัยพิบัติ (le risqué majeur) อีกด้วย เนื่องจากมีปัญหาอุทกภัยบ่อยครั้งแต่ละครั้งซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากทำให้การบริหารจัดการจึงมีการดำเนินการในสองรูปแบบ ดังนั้น ในการศึกษานี้จะได้ศึกษาเป็น ๒ ส่วน คือ ในส่วนการบริหารจัดการน้ำในมิติที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติและในมิติที่เป็นภัยคุกคาม


                     * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙

                    พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๕๙ ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้อ่านในการทำความเข้าใจกฎหมายและเป็นข้อมูลประกอบในการบังคับใช้กฎหมาย โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อกำหนดมาตรการในคุ้มครองป้องกันและบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและกำหนดให้มีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นระบบและเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมและรักษาป่าสงวนแห่งชาติประจำจังหวัด เพื่อกำหนดมาตรการที่จำเป็นในการควบคุม ดูแล การส่งเสริม การปลูกป่า และการฟื้นฟูสภาพป่าสงวนแห่งชาติ และกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เพื่อเสนอแนะมาตรการและแนวทางในการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งได้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่ได้มาหรือได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด และปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับบทกำหนดโทษ อัตราค่าธรรมเนียม ค่าภาคหลวง และค่าบำรุงป่าให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน


                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ระบบใบอนุญาตขายสุราของประเทศอังกฤษ

                    โดยที่สหราชอาณาจักร (United Kingdom) ประกอบด้วยดินแดน ๔ ส่วน คือ อังกฤษ เวลส์ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งแต่ละดินแดนต่างก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตขายสุราของตนเอง ในบทความนี้จะกล่าวถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบใบอนุญาตขายสุราของประเทศอังกฤษ ซึ่งมีกฎหมายที่บังคับใช้ คือ The Licensing Act ๒๐๐๓ โดยมีการนามาใช้บังคับกับเวลส์ด้วย สาหรับวัตถุประสงค์ในการออกกฎหมายฉบับนี้เพื่อควบคุมการขายสุราโดยการใช้ระบบใบอนุญาตป้องกันมิให้เกิดอาชญากรรมและความไม่สงบ ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ป้องกันมิให้เกิดความเดือดร้อนราคาญแก่ประชาชน และปกป้องเยาวชนจากเหตุร้ายที่เกิดขึ้นจาก ผู้ดื่มสุรา ซึ่งเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของกฎหมายการขายสุราของประเทศอังกฤษจะเห็นได้ว่า การออกกฎหมายควบคุมการขายสุราในประเทศอังกฤษก็เพื่อที่จะปกป้องและคุ้มครองให้สังคมเกิดความสงบสุข เพราะการดื่มสุราเป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดการก่ออาชญากรรมอันเป็นภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งก่อให้เกิดความเดือดร้อนราคาญแก่บุคคลอื่นในสังคม


                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การดำเนินการภายหลังได้รับพระราชทานอภัยโทษทางวินัย

               การพระราชทานอภัยโทษ โดยทั่วไปจะเข้าใจกันว่าเป็นการพระราชทานอภัยโทษเฉพาะโทษทางอาญา หรือเป็นการพระราชทานอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องขังในคดีอาญาเท่านั้น เช่น ในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ จะมีการปล่อยตัวนักโทษที่อยู่ในเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ ซึ่งบางปีมีเป็นจำนวนมากบางปีก็อาจจะมีจำนวนน้อยขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขตามที่กำหนดในวโรกาสสำคัญนั้น ๆ


                 * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวทางในการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายและข้อสังเกตบางประการของฝ่ายนิติบัญญัติเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘

               ตามระบบกฎหมายที่ดินของไทยมีการจำแนกที่ดินออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ ๆ กล่าวคือ (๑) ที่ดินของเอกชน และ (๒) ที่ดินของรัฐ โดยในส่วนที่ดินของรัฐเอง กฎหมายได้จำแนกประเภทไว้หลายประเภท เช่น ที่ดินสาธารณประโยชน์ ที่ดินของวัด ฯลฯ ซึ่งวิธีการโอนกรรมสิทธิ์สำหรับที่ดินของรัฐมีความแตกต่างจากการโอนกรรมสิทธิ์ของที่ดินของเอกชนอย่างมีนัยสำคัญ  อย่างไรก็ตาม ในบทความนี้จะจำกัดขอบเขตที่จะกล่าวถึงวิธีการและกระบวนการในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. ๒๕๑๘ เท่านั้น


                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

                    โดยหลักการพื้นฐาน องค์กรของรัฐไม่ว่าประเภทใดจะมีสิทธิถือครองกรรมสิทธิ์ใน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายก าหนด การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนนับเป็นแนวทางหนึ่งที่จะท าให้เกิด ความยั่งยืนในการพัฒนา การให้อ านาจในการบริหารจัดการชุมชนหรือท้องถิ่นย่อมท าให้การพัฒนา และการแก้ไขปัญหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็น องค์กรที่ท างานอยู่ในท้องถิ่น และมีความใกล้ชิดกับท้องถิ่นมากที่สุด ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี อ านาจหน้าที่ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามที่กฎหมายก าหนดและมีหน้าที่ที่ควรท าเพื่อคุณภาพ ชีวิตที่ดีของประชาชน


                     * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการใช้ที่ดินจากการเวนคืนต่างไปจากวัตถุประสงค์เดิมของการเวนคืน

               ในอดีตที่ผ่านมาแนวความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการใช้ที่ดินจากการเวนคืนต่างไปจากวัตถุประสงค์เดิมของการเวนคืน มีแนวทางการให้ความเห็นที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับรายละเอียดข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี แต่เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการนำที่ดินที่เหลือจากการใช้ตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๙ เห็นชอบให้นำความเห็นในเรื่องดังกล่าว ถือเป็นแนวปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป จึงทำให้แนวทางปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไปใช้ประโยชน์อื่นมีความชัดเจนยิ่งขึ้น


                  
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ปัญหาเชิงรูปแบบการตรากฎหมายว่าด้วยการขายหรือจำหน่ายที่ดินที่มีผู้อุทิศให้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ด้านพระพุทธศาสนา

                โดยที่ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบางแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตามกฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ทั้งสองแห่งดังกล่าวได้กำหนดให้มีมหาวิทยาลัยมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริม และให้บริการทางวิชาการในด้านพระพุทธศาสนา สำหรับรายได้ของมหาวิทยาลัยในส่วนที่เป็นทรัพย์สินซึ่งมีผู้อุทิศให้แก่มหาวิทยาลัย หากเป็นกรณีอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมหาวิทยาลัยได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือซื้อด้วยเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย หรือแลกเปลี่ยนกับทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยแล้ว กรณีต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย ซึ่งเมื่อพิจารณามาตรา ๕๙ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ จะกำหนดให้บรรดาอสังริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลได้มาโดยมีผู้อุทิศให้ หรือโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษาไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ และให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา ดังนั้น ที่ดินของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทั้งสองแห่งซึ่งได้รับมาจากการอุทิศให้ จึงไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุ แต่เป็นที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ต่อมาหากมหาวิทยาลัย จะดำเนินการจำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการอุทิศให้ดังกล่าวข้างต้น กฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐทั้งสองแห่งดังกล่าวได้กำหนดให้มหาวิทยาลัยมีอำนาจดาเนินการจำหน่าย หรือแลกเปลี่ยนอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาจากการอุทิศให้ได้ โดยต้องมีวัตถุประสงค์ให้จำหน่ายหรือแลกเปลี่ยนได้ด้วย อย่างไรก็ดี กฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยบางแห่งอาจเพิ่มขั้นตอนโดยกำหนดให้ต้องได้รับการพิจารณาอนุมัติของสภามหาวิทยาลัยเสียก่อน


                
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ปัญหาการทับซ้อนในพื้นที่ป่าไม้ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

               บทความนี้กล่าวถึงปัญหาในการกำหนดเขตป่าอนุรักษ์ในประเทศไทย เนื่องจากทรัพยากรมีอยู่อย่างจำกัดไม่สอดคล้องกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐก็มีความพยายามที่จะเพิ่มพื้นที่ป่าอนุรักษ์ คือ เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าให้มากขึ้น และมักจะนำเขตป่าหรือป่าสงวนแห่งชาติหลาย ๆ แห่งมากำหนดเป็นเขตอุทยานแห่งชาติหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า โดยกฎหมายกำหนดให้การกำหนดเขตดังกล่าวต้องมีแผนที่แนบท้ายด้วย แต่โดยที่เขตอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจะไม่อนุญาตให้มีการใช้ประโยชน์ซึ่งต่างจากเขตป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้การตรากฎหมายเกี่ยวกับเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีความซับซ้อนและเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก โดยเฉพาะพื้นที่ที่ทับซ้อนกันทำให้เกิดปัญหาทั้งในทางกฎหมายและในทางปฏิบัติที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเป็นรูปธรรม


                  * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


เจตนารมณ์ ร่าง พ.ร.บ. วิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. ....

                  เจตนารมณ์ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .... ฉบับนี้ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้อ่านในการทำความเข้าใจกฎหมายและเป็นข้อมูลประกอบในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ไม่มีจุดประสงค์เพื่อใช้อ้างอิงในการบังคับใช้กฎหมายหรือในการพิจารณาตัดสินคดีของศาล ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน พ.ศ. .... มีเหตุผลและความจำเป็นในการตราเพื่อให้มี การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในการปฏิบัติงานของบุคคลด้านการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศ ให้มีมาตรฐานเดียวกันเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยจัดตั้งสภาการสาธารณสุขชุมชนขึ้นเพื่อส่งเสริมการประกอบวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชน กำหนดและควบคุมมาตรฐานการประกอบวิชาชีพและควบคุมมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากบุคคลซึ่งไม่มีความรู้ อันจะก่อให้เกิดภัยและความเสียหายต่อสุขภาพของบุคคลและชุมชน



                   
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


จุดเปลี่ยนที่สำคัญกับกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศไทย

               กฎหมายการแข่งขันทางการค้าถือเป็นธรรมนูญทางการค้าที่สำคัญที่คอยกำกับดูแลให้ผู้ประกอบธุรกิจแข่งขันกันอย่างเสรีและเป็นธรรมโดยไม่มีการเอาเปรียบผู้ประกอบธุรกิจอื่น  สำหรับประเทศไทยหากจะกล่าวถึงกฎหมายดังกล่าวจะพบว่า เกิดขึ้นมานานแล้วโดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันได้มีการตราพระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. ๒๕๖๐ ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ โดยตราขึ้นด้วยวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรการในการกำกับดูแลการแข่งขันทางการค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนมีองค์กรกำกับดูแลที่มีความคล่องตัวและมีความเป็นอิสระ เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการของรูปแบบและพฤติกรรมการประกอบธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา


                     ​ 
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


เจตนารมณ์ พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘

                 เจตนารมณ์พระราชบัญญัติกำลังพลสำรอง พ.ศ. ๒๕๕๘ ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้อ่านในการทำความเข้าใจกฎหมายและเป็นข้อมูลประกอบในการบังคับใช้กฎหมาย โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวมีหลักการสำคัญในการกำหนดให้มีกำลังพลสำรองเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงกลาโหม โดยกำหนดประเภทบุคคลที่จะเป็นกำลังพลสำรอง การดำเนินการทั้งหลายเกี่ยวกับกิจการกำลังพลสำรอง รวมถึงการกำหนดหน้าที่และสิทธิของกำลังพลสำรองในการเข้ารับราชการทหารให้ชัดเจน เพื่อเป็นการพัฒนากิจการกำลังพลสำรองให้มีประสิทธิภาพ


                     * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวทางการตรวจพิจารณา (ร่าง) พรฎ. กำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน (๓)

                        แนวทางการตรวจพิจารณา (ร่าง) พรฎ. กำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน (๓) ;ว่าด้วยเรื่องขั้นตอนการนัดประชุม

                     ​ * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


กฎหมายว่าด้วยมาตรการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการเอาไปโดยมิชอบและการเตรียมความพร้อมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)

                 จากปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเสถียรภาพ และความมั่นคง ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งบ่อนทาลายสถาบันและคุณค่าแห่งประชาธิปไตย จริยธรรม ความยุติธรรม ตลอดจนหลักนิติรัฐและนิติธรรมและเป็นอันตรายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หลายภาคส่วนจึงเห็นพ้องร่วมกันว่าความร่ารวยส่วนบุคคลที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินของรัฐโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดความเสียหาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อสถาบันประชาธิปไตยและเศรษฐกิจของชาติ จึงจาเป็นที่จะต้องจัดวางมาตรการ เพื่อคุ้มครอง ป้องกัน สืบหา ยับยั้งและติดตามทรัพย์สินของรัฐจากการสูญเสียและการโอนทรัพย์สิน ดังกล่าวไปโดยมิชอบด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ผ่านมาการติดตามทรัพย์สินของรัฐคืนจากการทุจริตและประพฤติมิชอบ ตลอดจนการได้ไปหรือการเอาไปโดยมิชอบต้องอาศัยบทบัญญัติของกฎหมายหลายฉบับและต้องดาเนินการติดตามเอาทรัพย์สินนั้นคืนโดยอาศัยมาตรการทางกฎหมายที่แตกต่างกันตามหน้าที่และอานาจของหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ ซึ่งจะยิ่งทาให้การติดตามเอาทรัพย์สินของรัฐคืนขาดความเป็นเอกภาพและขาดประสิทธิภาพตามที่ควรจะเป็น


                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวทางการตรวจพิจารณา (ร่าง) พรฎ. กำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน (๒)

                      ด้วยเหตุที่ยังไม่มีการวางแนวทางว่ารูปแบบบันทึกความเห็นเบื้องต้นควรใช้รูปแบบใดจึงได้นารูปแบบบันทึกฯ ของการตรวจ ร่างพระราชกฤษฎีกากาหนดเขตเวนคืนมาใช้ สาหรับหัวข้อเอกสารประกอบการพิจารณา นั้น ได้ระบุด้วยว่ามีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทยที่กาหนดเขตสารวจการจัดรูปที่ดินตามกฎหมายเดิมเพื่อใช้ในการพิจารณาประกอบด้วยว่าเป็นแนวเขตเดียวกันหรือใกล้เคียงกับแนวเขตตามร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่จะตรวจพิจารณาหรือไม่  


                    * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ : ศึกษากรณีกฎหมายบัญญัติให้นายจ้าง หรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงาน

                   โดยที่มาตรา ๓๓ แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ. ๒๕๕๐ บัญญัติให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการ และหน่วยงานของรัฐรับคนพิการเข้าทำงานตามลักษณะของงานในอัตราส่วนที่เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการหรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๔ ใช้บังคับแล้ว โดยกำหนดจำนวนที่จะต้องรับคนพิการ ในสัดส่วนผู้ปฏิบัติงานหรือลูกจ้าง ๑๐๐ คน ต่อคนพิการ ๑ คน แต่ในความเป็นจริงกลับพบว่า คนพิการที่มีงานทำหรือได้รับการจ้างงานยังมีน้อย มีสถานประกอบการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการน้อยกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนคนพิการที่สถานประกอบการจะต้องรับคนพิการเข้าทำงาน  ดังนั้น สมควรมีการแก้ไขกฎหมายให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ของสังคมในปัจจุบัน และการสร้างเสริมอาวุธในด้านวิชาความรู้และความสามารถให้กับคนพิการ และให้มีการจัดตั้งสถาบันฝึกอาชีพคนพิการ เพื่อช่วยให้คนพิการมีงานทำมากขึ้น



                  
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การนำเรือมาเป็นหลักประกันตามกฎหมาย

               เรือเป็นทรัพย์สินที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่ามีมูลค่าในทางเศรษฐกิจ อีกทั้งเป็นที่ยอมรับในทางกฎหมายว่าเป็นทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้  อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่เกี่ยวกับการนำเรือมาเป็นหลักประกันปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ ซึ่งผู้ที่เป็นเจ้าของเรือและประสงค์จะนำเรือมาเป็นหลักประกันอาจจะต้องพิจารณาให้รอบคอบว่าเรือลำที่ตนเป็นเจ้าของอยู่นั้นสามารถนำมาเป็นหลักประกันตามกฎหมายในรูปแบบใดได้บ้าง และเมื่อนำมาเป็นหลักประกันแล้วจะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ในทางกฎหมายอย่างไร สาระของบทความนี้จะแสดงถึงรูปแบบการนำเรือมาเป็นหลักประกันตามกฎหมายและข้อพิจารณาบางประการทางกฎหมายที่จะต้องคำนึงถึงในการนำเรือมาเป็นหลักประกัน  ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของเรือและบุคคลอื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณารูปแบบที่เหมาะสมในการทำสัญญาหลักประกันต่อไป


                   
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวทางการตรวจพิจารณา (ร่าง) พรฎ. กำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน (๑)

                      ทำไมต้องเสนอ (ร่าง) พรฎ. กำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน 


                     * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (the General Data Protection Regulation (GDPR))

                  ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา หลายท่านอาจได้รับอีเมล์ซึ่งมีเนื้อหาทำนองว่า “เราได้ทำการปรับปรุงนโยบายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของบริษัทเพื่อให้เป็นไปโดยสอดคล้องกับ the EU General Data Protection Regulation (GDPR)” หรือ “หากท่านประสงค์ที่จะได้รับจดหมายข่าวจากเราต่อไป ขอให้ท่านตอบตกลงโดยคลิกที่แถบด้านล่างนี้” และหากได้ทำการสังเกตในเพจของสื่อชื่อดังต่างประเทศบนโซเชียลเน็ตเวิร์ค ก็จะพบว่ามีบทความหลายชิ้นหรือหัวข้อข่าวที่กล่าวถึงสิ่งที่เรียกว่า GDPR อยู่ แม้กระทั่งในประเทศไทยเอง ก็ปรากฏว่ามีการลงบทความเกี่ยวกับ GDPR หลายบทความทั้งในสื่อกระแสหลักและสื่อทางเลือก นอกจากนี้ ในวงวิชาการก็มีความตื่นตัวต่อ GDPR เช่นเดียวกัน โดยผู้เขียนบทความได้มีโอกาสเข้าร่วมรับฟังการเสวนาในเรื่องนี้ที่จัดขึ้นโดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศถึงสามครั้งในช่วงหนึ่งเดือนที่ผ่านมา ซึ่งบทความชิ้นนี้จะกล่าวถึงเหตุที่ทำให้เกิดกระแสความสนใจใน GDPR ความหมายของ GDPR ตลอดจนเนื้อหาบางส่วนของ GDPR พอสังเขป เพื่อให้เห็นภาพอย่างกว้างของ GDPR ต่อไป


                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


สภาพปัญหาจากบทนิยาม “สถานศึกษา” ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๕๘

               โดยที่พระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๕๘ เป็นกฎหมายที่ได้มีการปรับปรุงพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ๒๕๐๗ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของเด็กและเยาวชนที่อยู่ระหว่างการศึกษาประกอบกับแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดให้โอนอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการหอพักให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติหอพักฯ จึงได้กำหนดบทนิยาม หอพัก หมายความว่สถานที่ที่รับผู้พักตามพระราชบัญญัตินี้เข้าพักอาศัยโดยมีการเรียกเก็บค่าเช่ และหากบุคคลใดจัดสถานที่เพื่อรับผู้พักเข้าพักอาศัยโดยเรียกเก็บค่าเช่าก็ให้ถือว่าบุคคลนั้นประกอบกิจการหอพัก เพื่อให้เห็นขอบเขตก่อน แต่การประกอบกิจการหอพักจะต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยแยกออกเป็นหอพักสถานศึกษากับหอพักเอกชน


                   
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ความรับผิดทางอาญาของนายจ้างตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔

               เจ้าของตึก เจ้าของสถานประกอบกิจการ หรือเจ้าของร้านค้า ซึ่งยินยอมให้บุคคลอื่นเข้ามาทำงานหรือทำผลประโยชน์ให้แก่หรือในสถานประกอบกิจการนั้นจะต้องร่วมรับผิดทางอาญากับนายจ้างที่แท้จริงของลูกจ้างตามความหมายในบทนิยามของคำว่า “นายจ้าง” แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ หรือไม่



             * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ปัญหาการดำเนินการกับไม้ของกลางในคดีป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔

               บทความนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการจัดการไม้ของกลางในคดีป่าไม้ อันหมายถึง การนำไม้ออกและจำหน่ายไม้ของกลางดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ รวมทั้งกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๐๒ ซึ่งได้ให้อำนาจดังกล่าวไว้แก่หน่วยงานของรัฐ หนังสือเวียน ข้อตกลง บันทึกข้อตกลงระหว่างส่วนราชการในส่วนของแนวทางปฏิบัติการดำเนินการจัดการกับไม้ของกลาง แนวทางคำพิพากษาและการให้ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา การออกคำสั่งภายในฝ่ายปกครองของฝ่ายบริหารและผลกระทบจากการออกคำสั่ง ตลอดจนแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้เป็นไปอย่างรักษามูลค่าของป่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และที่สำคัญเพื่อให้การปฏิบัติราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)


               
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการซื้อสิ่งของในเกมออนไลน์ในโทรศัพท์มือถือโดยระบบกล่องสุ่ม (loot boxes) ในประเทศไทย

              ในปัจจุบันอุตสาหกรรมเกมซึ่งเป็นหนึ่งในสื่อที่ให้ความบันเทิงได้มีการพัฒนาและเติบโตอย่างต่อเรื่องและเข้าถึงได้ทุกเพศทุกวัย แม้จะมีบางเกมที่มีข้อจำกัดอายุการเล่น และแม้ว่าจะมีความเป็นกังวลว่าการเล่นเกมจะทำให้เสียสุขภาพหรือเสียการเรียน แต่ก็มีการอ้างว่ามีงานวิจัยซึ่งระบุว่าการเล่นเกมช่วยผ่อนคลายและเสริมสร้างทักาะด้านร่างกายและสมองได้เช่นเดียวกับการเล่นกีฬา โดยนายฮัลเลน ซู ผู้จัดการอาวุโสด้านพันธมิตรทางธุรกิิจเกมของบริษัท การีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ให้ข้อมูลว่าในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ตลาดเกมคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยมีมูลค่าถึง ๖.๓ พันล้านบาท ส่วนตลาดเกมมือถือในประเทศไทยมีมูลค่าถึง ๔ พันล้านบาท  นอกจากนี้ ปัจจุบันสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย หรือโอซีเอ ก้ได้บรรจุกีฬาอีสปอร์ตซึ่งเกี่ยวข้องกับการแข่งขันเกมให้เป็นหนึ่งในการชิงเหรียญรางวัลอย่างเป็นทางการในกีฬาเอเชียนเกมส์ ๒๐๒๒ ที่เมืองหางโจว ประเทศจีน และยังมีการเปิดตัวหลักสูตร "ธุรกิจเกมและอีสปอร์ต" ในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย โดยในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ มีรายงานว่ามูลค้าของธุรกิจเกมมือถือเติบโตอยู่ทีี่ ๕๙.๒ พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม การซื้อสิ่งของในเกมออนไลน์โดยระบบกล่องสุ่ม (loot boxes) ซึ่งอยู่ในหลายเกม รวมถึงเกมที่ถูกจัดเป็นอีสปอร์ต ยังถูกจับตามองอยู่ว่ามีลักษณะที่เข้าข่ายอาจเป็นการพนันซึ่งในประเทศเบลเยี่ยม เห็นว่า loot boxes เป็นการพนันประเภทหนึ่ง ขณะที่ในสหราชอาณาจักรเห็นว่าระบุสุ่มซื้อของดังกล่าวไม่ใช่การพนัน สำหรับในประเทศไทย การพิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวเป็นการพนันหรือไม่ก็ควรจะต้องพิจารณาดูจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป แต่ไม่ว่าจะผิดกฎหมายหรือไม่ การซื้อสิ่งของในเกมออนไลน์โดยระบบกล่องสุ่ม (loot boxes) ก็ยังคงเป็นเรื่องที่ถูกจับตาโดยรัฐบาลหลายประเทศ และอาจมีการประกาศมาตรการทางกฎหมายในเรื่องดังกล่าวต่อไปในอนาคตได้ 



             
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวคิดในการออกประกาศหรือคำสั่งเพื่อแก้ไขปัญหาการครอบครองอาวุธสงครามของเอกชน

               การครอบครองอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด เป็นเรื่องต้องห้าม ในกฎหมายของไทย บุคคลที่จะครอบครองอาวุธดังกล่าวจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติที่กฎหมายยอมรับ เพื่อมิให้อาวุธเหล่านี้ตกอยู่ในมือของอาชญากรหรือผู้ที่มีแนวโน้มจะกระทาความผิด โดยเฉพาะอาวุธ ที่มีลักษณะร้ายแรงอย่างอาวุธสงครามนั้น หากนามาใช้ในการกระทาความผิดย่อมก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชน โดยเหตุการณ์ความรุนแรง ที่ปรากฏจากข่าวสารในปัจจุบันแสดงให้เห็นว่า สังคมไทยมีแนวโน้มการก่อความรุนแรงโดย การใช้อาวุธเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะจากอาวุธที่ไม่ได้รับอนุญาตหรืออาวุธเถื่อนที่มีการซื้อขายด้วยราคาที่ต่่ากว่าอาวุธที่น่าเข้ามาเพื่อการค้าอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างมาก เมื่อมีการสะสมอาวุธที่ผิดกฎหมายเหล่านี้อยู่ในมือบุคคลทั่วไป จึงเป็นเรื่องส่าคัญที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งผู้บริหารประเทศต้องให้ความสนใจและด่าเนินการแก้ไข ป้องกัน หรือปราบปราม เพื่อให้อาวุธเถื่อนเหล่านั้นหมดไปหรือลดจำนวนลงไป



                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘: สถานะของคำสั่งและการอุทธรณ์คำสั่ง

              กองทุนยุติธรรมเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามมาตรา ๕ แห่งพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ๒๕๕๘ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล!งเงินทุนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการช!วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย การถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน โดยมีคณะกรรมการกองทุนยุติธรรมซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากภาครัฐและภาคประชาชนมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางในการดำเนินงานของกองทุน ตลอดจนแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ” เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยื่นคำขอในทุกภารกิจของกองทุนทั่วราชอาณาจักร และ “คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัด” เพื่อให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ยื่นคำขอจากกองทุนเฉพาะกรณีการให้ค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดีและการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในการพิจารณาคำขรับความช่วยเหลือของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดนั้นอาจมีทั้งกรณีที่คณะอนุกรรมการฯ มีคำสั่งอนุมัติให้ความช่วยเหลือไม่อนุมัติให้ความช่วยเหลือหรือยุติเรื่อง ซึ่งผลการพิจารณาคำขอรับความช่วยเหลือเหล่านี้กลับกลายเป็นที่มาของ “ปัญหา” ในทางปฏิบัติอันเป็นเหตุให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพได้ขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์คำสั่งของคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือหรือคณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือประจำจังหวัดมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา



                  
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินของรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย

                 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพกาจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ นั้นเป็นกลไกการได้มาซึ่งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ้างหรือการทำงานที่เป็นธรรมทั้งกับนายจ้างและลูกจ้าง โดยผู้ร่างกฎหมายตระหนักว่าในสภาพความเป็นจริงนายจ้างย่อมมีอำนาจในการเจรจาต่อรองเหนือกว่าลูกจ้างเสมอ ผู้ร่างกฎหมายจึงได้สร้างกระบวนการเจรจาต่อรองผ่านองค์กรที่เกิดจากการรวมกลุ่มของลูกจ้างในรูปแบบของสหภาพแรงงาน รวมทั้งได้สร้างกระบวนการที่ทำให้คู่เจรจาทั้งสองฝ่ายมีโอกาสในการเจรจาต่อรองอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เกิดประโยชน์และเป็นธรรมกับทั้งนายจ้างและลูกจ้าง สำหรับข้อตกลงที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินนั้น เนื่องจากเป็นข้อตกลงที่กระทบต่อการใช้จ่ายเงินของรัฐวิสาหกิจ กฎหมายจึงกำหนดกระบวนการพิเศษเพิ่มเติมจากข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในกรณีอื่น ๆ เพื่อให้รัฐบาลสามารถกำกับดูแลให้การใช้จ่ายเงินเป็นไปอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสามารถกำกับดูแลสภาพการจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจในภาพรวมให้เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับการจ้างที่เกี่ยวกับเงินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญและมีกระบวนการที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นกรณีพิเศษ จึงสมควรที่จะมีการศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการดังกล่าว เพื่อให้สามารถการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด



                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ปัญหาข้อกฎหมายและแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

               โดยที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ที่ดินถึงเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นรากฐานเบื้องต้นของการผลิตภาคเกษตร แต่ในปัจจุบันกลับปรากฎว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาความเดือนร้อยจากการขาดที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเกษตรกรที่เคยเป็นเจ้าของที่ดินอยู่เดิมต้องสูญเสียสิทธิในที่ดินของตนไป เพราะสาเหตุต่าง ๆ เช่น มีหนี้สินมากจนทำให้ต้องขายหรือถูกยึดที่ดิน ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติทำให้การผลิตเสียหาย หรือถูกนายทุนพ่อค้าคนกลางเอารัดเอาเปรียบกดราคารับซื้อพืชผลอย่างไม่เป็นธรรม ทำให้รายได้เกษตรกรไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้สินได้ หรือถูกนายทุนฉ้อโกงทำให้ต้องสูยเสียที่ดินในการทำเกษตรไป ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของประชากรภายในประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อทรัพย์สินหรือมรดกภายในครอบครัว ทำให้ปัญหาการถือครองที่ดินมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น


                      
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ก้าวย่างสำคัญของบรรษัทภิบาลในกฎหมายไทย (Corporate Governance) โอกาสและความเป็นไปได้: กรณีสิทธิในการฟ้องคดีของผู้ถือหุ้นฝ่ายข้างน้อย (Derivative Claim) ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายอังกฤษ

               บรรษัทภิบาล Corporate Governance หมายความถึง ระบบในการบริหารจัดการองค์กรผ่านวิธีการในการกำหนดทิศทางและกำกับดูแลซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ สิทธิและความรับผิดชอบระหว่างผู้ถือหุ้นและกรรมการ ตลอดจนผู้บริหารของบริษัท กฎและระเบียบที่ใช้ประกอบการตัดสินใจในการดำเนินกิจการของบริษัทซึ่งต3องคำนึงถึงกลุ่มหรือตัวแทนผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน



               * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองกับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว

               แม้ว่าศาลปกครองจะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง เช่น ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเพื่อขอให้เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครอง โดยเห็นว่ากฎหรือคำสั่งทางปกครองนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดีผู้อยู่ในบังคับของกฎหรือคำสั่งทางปกครอง แต่กระนั้น การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครองก็ใช้ระยะเวลาค่อนข้างยาวนาน ซึ่งอาจทำให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลไม่ก่อให้เกิดประโยชน์หรือไม่อาจเยียวยาความเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับจากการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองนั้น เนื่องจากระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลปกครอง กฎหรือคำสั่งทางปกครองก็ยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ตลอดเวลา และในระบบกฎหมายไทย การฟ้องคดีต่อศาลปกครองไม่มีผลเป็นการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครอง ในการนี้ฝ่ายปกครองจึงสามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองนั้นทำให้ผู้ฟ้องคดียังคงได้รับความเสียหายอยู่ตลอดเวลาแม้จะมีการยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วก็ตาม  ด้วยเหตุนี้ จึงมีการบัญญัติกฎหมายให้ศาลปกครองมีอำนาจในการกำหนดมาตรการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาเพื่อยับยั้งการมีผลบังคับของกฎหรือคำสั่งทางปกครองนั้น ๆ สำหรับในส่วนของการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวนั้น เป็นกรณีที่ศาลปกครองกำหนดวิธีการใด ๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่คู่กรณีที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวก่อนการพิพากษาคดีโดยการทุเลาการบังคับตามกฎหรือคำสั่งทางปกครองกับการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก็มีความแตกต่างกันในสาระสำคัญ ซึ่งในบทความนี้จะได้กล่าวต่อไป



                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


เอกสารประกอบการสัมมนา เรื่อง มาตรารักษาการ

             โดยที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้จัดให้มีโครงการสัมมนาฝึกอบรมและรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดรูปแบบการร่างกฎหมำย และเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของนักกฎหมายกฤษฎีกาขึ้น โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประกอบด้วยนักกฎหมายกฤษฎีกา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติงานของรัฐสภา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการสัมมนาในครั้งนี้เป็นการสัมมนาในครั้งที่ ๓ หัวข้อ
              “มาตรารักษาการ” มาตรารักษาการเป็นบทบัญญัติมาตราหนึ่งของพระราชบัญญัติที่จะแสดงให้เห็นถึงผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมกำกับดูแลการใด ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้ และเป็นแบบกฎหมายเรื่องหนึ่งโดยการกำหนดมาตรารักษาการมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีรัฐมนตรีเจ้าของเรื่องที่แน่นอนอันจะทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายมีประสิทธิภาพ และสภาผู้แทนราษฎรสามารถตรวจสอบหรือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ โดยการตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายหรือเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายเป็นรายบุคคล รวมทั้งทำให้ประชาชนสามารถติดต่อกับทางราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมีแนวทางการเขียนมาตรารักษาการเพิ่มขึ้นหลายรูปแบบและมีการใช้ถ้อยคำที่ไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาวิเคราะห์ รวมทั้งกำหนดแนวทางและรูปแบบ การเขียนมาตรารักษาการของการร่างพระราชบัญญัติให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน  ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติงานด้านการร่างกฎหมายมีแนวทางการปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน 



                     
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


ระบบการควบคุมการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงเปรียบเทียบกลไกตามกฎหมายของประเทศญี่ปุ่นกับร่างพ.ร.บ.การควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. ...

               ในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ อนุมัติหลักการ ร่างพระราชบัญญัติการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง พ.ศ. .... ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยมีสาระสาคัญเป็นการกาหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยการค้าสินค้า ที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทาลายล้างสูง อันเป็นการกาหนดกลไกในการควบคุมสินค้าดังกล่าวเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติตามพันธกรณีที่ประเทศไทยในฐานะประเทศสมาชิก องค์การสหประชาชาติมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติตามข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติตามที่กำหนดในข้อ ๒๕ ของกฎบัตรสหประชาชาติ


                
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


การจ่ายค่าชดเชยกรณีเกษียณอายุของพนักงานหน่วยงานของรัฐ

               คำวำ “ค่าชดเชย” ในความหมายที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไปของภาคเอกชนจะเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานว่าหมายถึง “เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง” จากบทนิยามดังกล่าวจึงมีแนววินิจฉัยตีความกันเรื่อยมาว่า การเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง และเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าการเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียณอายุนั้น ในการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ครั้งล่าสุด (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐) จึงได้เพิ่มเติมบทบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้ในมาตรา ๑๑๘/๑



                 * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


มาตรการบังคับใช้สิทธิในยารักษาโรคตามความตกลง TRIPS และกระบวนการในการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS ตามกฎหมายไทย

               ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวพันกับการค้า (Trade - Related Aspects of Intellectual Property Rights : TRIPS) เป็นความตกลงซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization : WTO) จะต้องปฏิบัติตาม โดยในความตกลง TRIPS มีบทบัญญัติกำหนดให้ประเทศภาคีสมาชิกต้องให้ความคุ้มครองแก่การประดิษฐ์ในทุกสาขาเทคโนโลยีด้วยการออกสิทธิบัตรให้แก่การประดิษฐ์เหล่านั้นเพื่อส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์กับสังคม โดยแลกกับการให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นได้รับเอกสิทธิ์ในสิ่งประดิษฐ์นั้นในช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้สามารถแสวงหารายได้จากสิ่งประดิษฐ์ของตนได้ หลักการดังกล่าวมีขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวมกับการให้ความคุ้มครองผลประโยชน์ของปัจเจกชน แต่โดยที่ระบบสิทธิบัตรครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองผลิตภัณฑ์ยารักษาโรคด้วย จึงทำให้เกิดการผูกขาดและทำให้ยามีราคาแพงขึ้น โดยเฉพาะยาที่ใช้สำหรับโรคที่ยังไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ เช่น โรคเอดส์ โรคหัวใจ หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ เช่น วัณโรค มาลาเรีย เป็นต้น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยารักษาโรคโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด  ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบโดฮา จึงมีการเจรจาในประเด็นความตกลง TRIPS เกี่ยวกับการสาธารณสุขขึ้น จนในที่สุดนำมาสู่การมีพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS เพื่อกำหนดให้มีมาตรการเพื่อสร้างความยืดหยุ่นในการเข้าถึงยารักษาโรคได้มากขึ้นในบทความนี้จะได้กล่าวถึงความเป็นมาและสาระสำคัญของมาตรการบังคับใช้สิทธิในยารักษาโรคตามความตกลง TRIPS พันธกรณีในการปฏิบัติตามความตกลง TRIPS กระบวนการในการยอมรับพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS ตามกฎหมายไทย



               
* บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


กฎหมายพลังงานทดแทนในประเทศเยอรมนี

             แม้เทคโนโลยีการผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทนในประเทศเยอรมนีจะค่อนข้างพัฒนาไปมากแล้ว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานแบบสิ้นเปลือง (เช่น ถ่านหิน น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ) หรือจากพลังงานปรมาณูแล้วจะพบว่า พลังงานจากแหล่งพลังงานทดแทนยังคงมีต้นทุนและราคาที่สูงกว่าพลังงานจากแหล่งพลังงานทั้งสองประเภทดังกล่าว ดังนั้น เอกชนจึงไม่มีแรงจูงใจที่จะใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทดแทนเท่าที่ควรจะเป็น รัฐบาลในประเทศเยอรมนีจึงได้ออกมาตรการประเภทต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนา ผลิต และใช้ประโยชน์จากแหล่งพลังงานทดแทนให้มากขึ้น
                  
ปัจจุบัน มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนของรัฐในประเทศเยอรมนีนั้นครอบคลุมการใช้พลังงานในชีวิตประจำวันของประชาชนเกือบจะทุกเรื่อง ตั้งแต่การใช้พลังงานไฟฟ้า การทำความร้อนและความเย็นในอาคาร ตลอดจนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคมขนส่ง


                     ​   * บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย


แนวทางการพัฒนาเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีประชาชน ศึกษากรณีของ Sydney Olympic Park

               ในปัจจุบันประเทศไทยมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว แต่ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศกลับกระจุกตัวอยู่แต่ในพื้นที่เมืองใหญ่ ๆ ที่เป็นศูนย์กลางทางด้านธุรกิจของประเทศ ทำให้พื้นที่เหล่านั้นมีปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสากรรมจำนวนมากตั้งอยู่ ซึ่งมลภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้แก่ มลภาวะทางเสียง ฝุ่นละออง น้ำเน่าเสีย ขยะ ควันพิษ ฯลฯ ส่งผลทำให้สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนของประเทศ จึงเห็นสมควรศึกษาแนวทางในการพัฒนาเมืองของต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาด้านมลภาวะมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างหรือแนวทางในการพัฒนาเมืองของประเทศไทยต่อไป ในที่นี้จึงเห็นควรศึกษากรณีของ Sydney Olympic Park



                 บทความในเว็บไซต์เป็นผลงานทางวิชาการของผู้เขียน เว็บไซต์ LawforASEAN / สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่จำเป็นต้องเห็นพ้องด้วย 



    © 2017 Office of the Council of State.